โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด



สาระสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ

1.ชื่อโครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นภาษาไทย คือ

“ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ”


2.คำขวัญที่ถูกต้องคือ

“ เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด ”


3.องค์ประกอบของชมรมTO BE NUMBER ONE คือ 3 ก. ได้แก่

กรรมการ กองทุน และกิจกรรม


4.องค์ประกอบของศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER) คือ

ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQ


5.ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาจำเป็นต้องมีเพราะ

เป็นตัวชี้วัดคุณภาพ ความสำเร็จ และความยั่งยืน


6.ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE

เป็นกิจกรรมหนึ่งของชมรม TO BE NUMBER ONE บริการปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQ จะต้องจัดขึ้นเพื่อสมาชิกที่มาใช้บริการภายในศูนย์เท่านั้น ไม่จัดนอกศูนย์ฯ ถ้าจัดจะถือเป็นกิจกรรมของชมรม TO BE NUMBER ONE ไม่ใช่ของศูนย์


7.กิจกรรมของชมรม TO BE NUMBER ONE หมายถึง

กิจกรรมใด ๆ ก็ได้ที่ทำแล้วเกิดประโยชน์ ต่อตัวสมาชิกและผู้อื่น เช่น การรณรงค์ป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ สมาชิก TO BE NUMBER ONE สามารถไปร่วมกิจกรรมรณรงค์ได้ในนามชมรม TO BE NUMBER ONE ไม่ใช่สมาชิกศูนย์


8.สมาชิกศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE คือ

สมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ที่มาใช้บริการภายในศูนย์ สมาชิกชมรมที่ไม่มาใช้บริการในศูนย์ ก็มีสถานภาพเป็นเพียงสมาชิกชมรมเท่านั้น


9.ชมรม TO BE NUMBER ONE บริหารจัดการ โดย

คณะกรรมการชมรม จำนวนคณะกรรมการ ขึ้นอยู่กับความต้องการ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการ(กี่คน กี่ฝ่ายก็ได้) เหรัญญิก เลขานุการ เป็นต้น


10.ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE บริหารจัดการ โดย

ผู้จัดการศูนย์ฯ และแกนนำอาสาสมัครประจำศูนย์รวมกันประมาณ 30 คน เพื่อผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาปฏิบัติหน้าที่ ในการให้บริการและจัดกิจกรรม สำหรับสมาชิก ตามวัน เวลา ที่กำหนดไว้เป็นรายเดือนในตารางกิจกรรม


11.ตารางกิจกรรมของชมรม TO BE NUMBER ONE

คณะกรรมการชมรมเป็นผู้กำหนดและให้เป็นไป ตามแผนงานประจำเดือน/ปี อาจจัดกิจกรรมเพียงเดือนละครั้ง หรือปีละ 3-4 ครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับ ความต้องการและความพร้อมของสมาชิกชมรมและคณะกรรมการร่วมกันพิจารณา


12.ตารางกิจกรรมของศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE

เป็นตารางกิจกรรมที่ชัดเจนล่วงหน้า อาจเว้นบางวัน หรือจัดทุกวัน แต่ต้องจัดเป็นประจำตลอดทั้งเดือน เพื่อให้สมาชิกศูนย์ สามารถวางแผนและเลือกเข้ารับบริการตามความสนใจและทุกกิจกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้หากสมาชิกร้องขอ


13.ห้องชมรม TO BE NUMBER ONE

ไม่ต้องมีขนาดใหญ่เพราะเป็นเพียงห้องปฏิบัติงาน จัดประชุมกรรมการชมรม และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อ ประสานงาน ระหว่างสมาชิกชมรม


14.ห้องศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ขนาดมาตรฐาน คือ

100 ตารางเมตรขึ้นไป เพราะเป็นห้องที่ให้บริการ พัฒนาEQกลุ่ม พัฒนาบุคลิกภาพ และจัดกิจกรรมสร้างสุข ซึ่งจำเป็นต้องใช้พื้นที่กว้างขวางพอสมควร


15.ประธานและคณะกรรมการชมรม TO BE NUMBER ONE

สามารถเป็นผู้จัดการและแกนนำ ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ร่วมด้วยได้ แต่ต้องแยกหน้าที่ ความรับผิดชอบให้ชัดเจน ไม่สับสนในบทบาทและการทำงานระหว่างชมรมกับศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE


16.การนำเสนอผลงานพึงระวังว่าพูดในนามชมรมฯ หรือศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE และกิจกรรมนั้นๆ

เป็นกิจกรรมของชมรมหรือเป็นกิจกรรมภายในศูนย์ แต่ทุกกิจกรรมถือเป็นผลงานในภาพรวมของชมรม TO BE NUMBER ONE ของหน่วยนั้นทั้งสิ้น


17.งบดำเนินการของศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE

ชมรม TO BE NUMBER ONE เป็นผู้จัดหามาสนับสนุน เพราะคณะกรรมการชมรม TO BE NUMBER ONE เป็นผู้ควบคุม กำกับ ดูแล ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE สรุปง่าย ๆ คือ ชมรม TO BE NUMBER ONE เป็นผู้จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE เพื่อให้เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาคุณภาพ สมาชิก TO BE NUMBER ONE ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนและกิจกรรมนั้นๆ ได้แก่ การปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา และพัฒนา EQ เท่านั้น แตกต่างจากกิจกรรมของชมรมซึ่งกว้างขวางกว่า


18.โครงการ TO BE NUMBER ONE

มีความเป็นมา มียุทธศาสตร์ มีแนวทางการดำเนินงาน คำขวัญ กิจกรรม สื่อและสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE จึงควรมีความชัดเจนในเรื่องขององค์ประกอบต่างๆ


รายละเอียดเพิ่มเติม

  1. คู่มือการดำเนินงานโครงการฯ